![]() | ทฤษฎีสัมพันธภาพ |
คุณคิดยังไงกับทฤษฎีสัมพันธภาพที่ว่า E=MC2 ใครเข้าใจกรุณาเมล์มาบอกด้วยครับ |
![]() | ตอบ: ทฤษฎีสัมพันธภาพ |
ค.ศ. 1905 ปีมหัศจรรย์ ในเวลาเพียงหนึ่งปีไอน์สไตน์ได้เขียนบทความออกมา 5 บทความที่เกี่ยวข้องกับ 3 ทฤษฏี ได้แก่ ทฤษฎีปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก ( Photoelectric Effect ) ทฤษฎีการเคลื่อนที่แบบบราวน์เนี่ยน ( Brownian Motion ) และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ( Special Relativity Theory ) โดยเริ่มจาก เดือนมีนาคม ไอน์สไตน์ได้ส่งผลงานเกี่ยวกับเรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริกไปตีพิมพ์ที่ Annalen der Physik ซึ่งเป็นวารสารด้านฟิสิกส์ชั้นนำของเยอรมัน โดยงานวิจัยเรื่องนี้ ไอน์สไตน์อธิบายว่าแสงประกอบด้วยอนุภาคพลังงานขนาดเล็ก ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติความคิดใหม่ และขัดแย้งกับความเชื่อและความรู้ที่มีอยู่ก่อนว่าแสงเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ทฤษฎีที่ไอน์สไตน์เสนอนั้นใช้อธิบายปรากฏการณ์ของแสงที่ส่องมากระทบกับโลหะแล้วทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกมาจากโลหะได้เป็นอย่างดี และผลงานวิจัยเรื่องปรากฏการณ์โฟโต้อิเล็กทริกทำให้ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี ค.ศ. 1921 เดือนเมษายน ไอน์สไตน์ส่งผลงานชิ้นที่สองที่เสนอวิธีการคำนวณหาค่าเลขอาโวกาโดร ( Avogado's number ) และขนาดของโมเลกุลของสารที่ถูกละลายในตัวทำละลาย ซึ่งผลงานชิ้นนี้ทำให้ไอน์สไตน์สำเร็จปริญญามหาดุษฏีบัณฑิต (ปริญญาเอก) จากมหาวิทยาลัยซูริก ประเทศสวสเซอร์แลนด์ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกันนี้ เดือนพฤษภาคม วารสาร Annalen der Physik ได้รับเอกสารอีกฉบับหนึ่งจากไอน์สไตน์ ซึ่งผลงานใหม่เป็นเรื่อง การเคลื่อนที่ของอนุภาคเล็กๆ ซึ่งแขวนลอยในของเหลวโดยอาศัยทฤษฎีจลน์โมเลกุลของความร้อนหรือที่เรียกว่า ทฤษฎีการเคลื่อนที่แบบบราวน์เนี่ยน โดยไอน์สไตน์ใช้ทฤษฎีนี้อธิบายถึงการที่วัตถุขนาดเล็กมาก ๆ ที่แขวนลอยอยู่ในของเหลวและมีการเคลื่อนที่อย่างสะเปะสะปะตลอดเวลาว่า เป็นผลที่เกิดจากวัตถุขนาดเล็กนั้นถูกชนด้วยอะตอมของของเหลวที่มองไม่เห็นจำนวนมากตลอดเวลา ซึ่งในสมัยนั้นนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ค่อยยอมรับถึงการมีอยู่จริงของอะตอม เดือนมิถุนายน หลังจากเสร็จสิ้นจากบทความเรื่องทฤษฎีการเคลื่อนที่แบบบราวน์เนี่ยนแล้ว ไอน์สไตน์ได้เขียนบทความใหม่ออกมาและส่งไปที่วารสาร Annalen der Physik อีก คราวนี้เป็นเรื่องของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการเคลื่อนที่ ซึ่งบทความนี้คือ จุดกำเนิดทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ เดือนกันยายน ไอน์สไตน์ได้ส่งบทความชิ้นที่ 5 ซึ่งเป็นชิ้นสุดท้ายของปี ความยาว 3 หน้ากระดาษเกี่ยวกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเพิ่มเติมว่า สสารและพลังงานมีความสัมพันธ์กัน โดยเมื่อสสารได้ปลดปล่อยพลังงานออกมาจำนวนหนึ่งแล้วจะมีผลทำให้วลของสสารมีค่าลดลง ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานและสสารถูกเขียนออกมาอยู่ในรูปสมการง่าย ๆ ว่า E=mc 2 อันเป็นสมการที่โด่งดังที่สุดของไอน์สไตน์ http://www.aip.org/history/einstein/index.html http://physicsweb.org/articles/world/18/1/2/1
|